TEL. & FAX +66(0)2-020-3301

Industrial Computer

ไปหน้าข่าว   10 กุมภาพันธ์ 2563 - 07:44

คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม (Industrial Computer)

          ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ Industrial Grade เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งทุกวันนี้จำนวนกลุ่มโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (Small & Medium Factory) หันมาตระหนักถึงความสำคัญของการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกประเภทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผู้ลงทุนกับระบบใหม่รวมไปถึงผู้ที่ปรับปรุงระบบเดิมก็หันมาเปรียบเทียบความคุ้มค่าของหน้างานระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมกับคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์กันมากขึ้น เรามาดูข้อดีของคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมกัน

 

          แม้ว่า Industrial Computer กับ Commercial Computer ที่ใช้งานการอยู่ทั่วไปนั้น จะมีส่วนประกอบหลักที่เหมือนกัน แต่คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมได้รับการออกแบบที่น่าเชื่อถือ และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานทางอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานระดับอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการผลิตที่เข้มงวดและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานกับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมหนักที่หลากหลาย ซึ่งจุดเด่นที่แตกต่างจาก Commercial Computer  และมีเหมือนกันใน Industrial หลักๆแล้วมีดังนี้

1. Fanless Computer Design

การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยไม่มีพัดลมภายในตัวเครื่องถือเป็นจุดเด่นของคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม ช่วยลดปัญหาความร้อนและฝุ่นละอองที่อาจสะสมในตัวเครื่องอย่างต่อเนื่องจนทำให้เครื่องหยุดทำงาน ช่วยลดการบำรุงรักษารายวัน รายสัปดาห์ และ ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องที่อาจเสียก่อนถึงกำหนดระยะเวลาบำรุงรักษา (preventive maintenance)  ซึ่งสภาวะในอุตสากรรมจะมีฝุ่นหนักกว่าสภาวะปกติ

2. มีความทนทานสูงทำงานได้ในสภาวะที่ไม่ปกติ (Robust)

  • สามารถทำงานในสภาพอุณภูมิที่แตกต่าง ตั้งแต่เย็นมากๆ จนถึงร้อนมากๆ (Operating temperature -20˚ to 65˚)
  • สามารถทำงานในสภาพที่มีความชื้น (Humidity) ตั้งแต่ 0% - 95%
  • สามารถทำงานในสภาวะสั่นสะเทือนและป้องกันไฟกระชาก

3. ทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมถูกออกแบบมาให้มีความทนทาน สามารถทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง 7 วัน ตลอด 365 วันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง

4. ตัวเครื่องมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่จำกัด

สามารถติดตั้งภายในตู้คอนโทรลและพื้นที่ที่แตกต่าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพื่อการติดตั้งในตู้หรือพื้นที่เฉพาะ รวมไปถึงรูปแบบการติดตั้งที่มีทั้งแบบ Wall Mount (Din-Rail Mounting) และ Rackmount ขึ้นอยู่กับหน้างานแต่ละที่

5. รองรับ Windows 7/10 IoT

คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมออกแบบมาเพื่อรองรับ Windows 7/10 เพื่อให้เครื่องจักรเก่ายังคงรองรับเฉพาะ Windows เก่าและไม่สามารถอัพเกรดเป็น Windows รุ่นปัจจุบันได้ อีกทั้ง Windows IoT ยังมีข้อดีที่หลากหลายและมีความปลอดภัยมากกว่า

6. รองรับ Serial Port / LPT Port (Parallel port)

อุปกรณ์ต่างๆ ในงานอุตสาหกรรมโดยมากยังคงใช้งานอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม และใช้การเชื่อมต่อด้วย Serial Port RS-232/422/485 และ LPT Port อยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะไม่มี Port เหล่านี้รองรับ

7. มีการรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนาน

คอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมจะไม่ตกรุ่นง่าย รวมถึงมีอะไหล่รองรับการซ่อมบำรุงยาวนานกว่าสินค้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Grade) และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

8. ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมได้รับการรับรองมาตรฐาน  CE, FCC Class A และยังมีแบ่งย่อยเป็นมาตรฐานเฉพาะงานต่างๆ ตามแต่รุ่นและความต้องการของหน้างาน เช่น ป้องกันการจุดระเบิด (Hazardous Zone2), ทนกรดเกลือ (DNV) เป็นต้น

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม 4 ประเภท  (จากแบรนด์ Moxa)

1.       Palm-sized

คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามือ เหมาะสำหรับพกพาหน้างาน ขนาด CPU Armv7 Cortex-A8 processor

รุ่นแนะนำUC-2100 Series  และ  UC-8100 Series

 

2.       DIN-rail automation computer

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมแบบติดตั้งแบบ DIN Rail มีขนาดกระทัดรัด ขนาด CPU ส่วนใหญ่จะเป็น Intel Atom processor

รุ่นแนะนำMC-1100 Series  และ  V2201 Series

 

3.       Panel computers  

คอมพิวเตอร์แบบจอเกรดอุตสาหกรรม หน้าจอทนทานต่อการใช้งานต่อเนื่อง ขนาด CPU ตั้งแต่ Intel Celeron จนถึง Intel I7

รุ่นแนะนำMPC-2150 Series , MPC-2260 Series  และ  EXPC-1519 Series

 

4.       Embedded computer

คอมพิวเตอร์แบบฝัง ขนาด CPU จะเป็น Intel Atom processor

รุ่นแนะนำ :  V2201 Series  และ  V2403 Series

 

Video แนะนำ MC-1100 Series

Quad-core Fanless DIN-rail automation computer

บริษัท พีที ออโตเมชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด

จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.

EN
TH